วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Research




              ชื่องานวิจัย  :  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีที่เป็นธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
               

              ผู้วิจัย  ยุพาภรณ์   ชูสาย

              เสนอ  :  ต่อบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ   ปี  2555

              จุดมุ่งหมาย  :  1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                                      
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
  
              ความสำคัญของงานวิจัย  
:   ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์   นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

               นิยามศัพท์เฉพาะ  :1. เด็กปฐมวัย  หมายถึง   เด็กปฐมวัย  ชาย – หญิง  อายุระหว่าง 5-6 ปี    ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนเทศบาล 2 ( วัดภูเขาดิน)  สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์   อำเภอเมืองเพชรบูรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์             
                                              
2.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ   หมายถึง  วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องสีจากพืชผักและผลไม้ที่อยู่รอบตัวเด็กอยู่ในชุมชน  ด้วยกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการทางความคิดค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการทดลองสีจากธรรมชาติ ให้เด็กได้ใช้ความคิดและสัมภาษณ์สื่อที่หลากหลายด้วยการปฏิบัติจริง
                                              3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง   การแสดงความสามารถของเด็กปฐมวัยในด้าน  การสังเกต   การจำแนกเปรียบเทียบ   และการลงความเห็นจากข้อมูล   โดยประเมินจากแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามความหมาย   ดังนี้
                                                  
3.1 ทักษะการสังเกต   หมายถึง   ความสามารถในการบอกความแตกต่างๆ  บอกลำดับวัตถุจัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่   โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่งเส้นความเหมือนความต่าง     ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
                                                  
3.2 การจำแนกประเภท   หมายถึง    ความสามารถในการแบ่งพวกเรียงลำดับ วัตถุโดยมีเกณฑ์เกณฑ์ดังกล่าวอาจจะใช้  ความเหมือน   ความแตกต่าง  หรือความสัมพันธ์
                                                  
3.3 ทักษะการหามิติสัมพันธ์   หมายถึง   ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของวัตถุหรือบอกตำแหน่งของวัตถุได้แก่รูปร่างและรูปทรงขนาดระยะทางตำแหน่ง
                                                  
3.4 ทักษะการลงความเห็นข้อมูล   หมายถึง   ความสามารถในการอธิบายและแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลในการอธิบายและสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จาก  การสังเกต   การวัด  การสัมผัสโดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิม
                                            
4. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  หมายถึง    ชุดของคำถามที่ใช้วัดทักษะทางวิทยาศาสตร์ 4 ทักษะใช้ทดสอบทางก่อนและหลังการทดลองชุดเดียวกันประกอบด้วย
                                                 
4.1 ทักษะการสังเกต
                                                 
4.2 ทักษะการจำแนก
                                                 
4.3 ทักษะการหามิติสัมพันธ์
                                                 
4.4 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

               วิธีดำเนินการวิจัย  ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง   โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
                                       
1. การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
                                      
2. การสร้างเครื่องมือและลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                                      
3. แบบแผนการทดลองและขั้นตอนการทดลอง
                                      
 4. การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
                                       5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมุล

                  สรุปงานวิจัย  :  1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะหลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัย  กลุ่มตัวอย่างมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทาง   โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด                       
                                           2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติทั้งโดยรวมและรายทักษะ   มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01




ภาพผนวก


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น